Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/database/driver.php on line 1946

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/database/driver.php on line 1946

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/database/driver.php on line 1946

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/database/driver.php on line 1946

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/database/driver.php on line 1946

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/database/driver.php on line 2022

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/filesystem/path.php on line 143

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/filesystem/path.php on line 146

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/filesystem/path.php on line 149

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/plugins/system/gantry/functions.php on line 44

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/plugins/system/gantry/functions.php on line 45

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/plugins/system/gantry/functions.php on line 41
ความเป็นมา
พิมพ์
รายละเอียด: | ฮิต: 2816
กำเนิดอาเซียน
 
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มก่อตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504  โดย ประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South East Asia ขึ้น เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซีย และประเทศมาเลเซีย

ในช่วงทศวรรษ 2500 ระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ได้แพร่เข้ามาสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ ทำให้เกิดความกังวลทางด้านเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ ประกอบกับประเทศมหาอำนาจเริ่มไม่สนับสนุนให้ความช่วยเหลือเท่าที่ควร ทำให้ประเทศในกลุ่มหันมาหาความร่วมมือซึ่งกันและกัน และได้มีการฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างประเทศขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ขึ้นในภูมิภาค “สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” จึงได้จัดตั้งขึ้นโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และสิงคโปร์ ได้ร่วมลงนามใน “ปฏิญญากรุงเทพฯ”(Bangkok Declaration) หรือที่เรียกว่า ปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างกันในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่ดีบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของสมาชิก

เมื่อแรกก่อตั้งในปี 2510 อาเซียนมีสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วย  
 

1. นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย)
2. นายตุน อับดุล ราชัก บินฮุสเซน(รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหม และรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย)
3. นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์)
4. นายเอส ราชารัตนัม(รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์)
5. พันเอก(พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)

  image  
 วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียนตามปฏิญญากรุงเทพฯ
 

1. ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์และการบริหาร
2.
ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
3.
เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ พัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
4.
ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
5.
ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6.
เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนปรับปรุงการขนส่งและคมนาคม
7.
เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอกองค์การความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ

 
นับตั้งแต่วันก่อตั้ง อาเซียนได้แสดงบทบาทในการธำรงรักษาและส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคง และความเจริญร่วมกันในภูมิภาค ตลอดจนมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่าง ประเทศสมาชิก ตลอดจนพัฒนาการในเรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคมจนเป็นที่ประจักษ์แก่ นานาประเทศ และนำไปสู่การขยายสมาชิกภาพ โดยบรูไน ดารุสซาลามเข้าเป็นสมาชิก ลำดับที่ 6 เมื่อปี 2527 เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 7 ในปี 2538 สปป.ลาวและพม่าเข้าเป็นสมาชิกพร้อมกันเมื่อปี 2540 และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกล่าสุดเมื่อปี 2542 


ที่มา : (การศึกษา : การสร้างประชาคมอาเซียน 2558, ม.ป.ป. : 2-4 )
 
168304 1527009266333 1567737508 31095201 6047293 n